E-Learning
เป็นการเรียนการสอนผ่านทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตการศึกษาที่นิยมกันมากในขณะนี้คือ Web Base Learning การเรียนแบบนี้ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ไม่มีข้อจำกัด
รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University* เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network: ALN) เป็นการเรียนการสอนที่ต้องมีการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
เครื่องมือช่วยเหลือการเรียนการสอนแบบ E-Learning
เทคโนโลยีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ E-Learning ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เราสามารถนำซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเว็บเพจ การส่งอีเมล์ การใช้ Search Engine Newsgroup การใช้ http, ftp หรือ โปรแกรมทางด้าน Authoring Tool เช่น FrontPage, Macromedia Dream weaver เป็นต้น การสร้าง Web Board ไว้ถาม-ตอบ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงการเรียนการสอนแบบ E-Learning ในบ้านเราก็คือ คน องค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้รูปแบบพัฒนาไปในทิศทางใด จากกรณีศึกษาโรงเรียนจิตรลดา ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายประถมศึกษา อาจารย์มีนา รอดคล้าย บอกว่า ระยะแรกๆต้องให้ความรู้ทางเทคโนโลยีแก่บุคลากร โดยเฉพาะผู้บริหาร ต้องให้ท่านเห็นความสำคัญและเข้าใจในเทคโนโลยีว่าไม่ได้ยาก อำนวยความสะดวกสบายให้เราอย่างไร เป็นต้น อันดับต่อมาก็คือ ผู้พัฒนาหลักสูตรและเนื้อหาวิชา ผู้พัฒนาระบบ ผู้ช่วยสอนและที่ปรึกษาทางการเรียน
ประโยชน์ที่ได้รับ
-เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยใช้สื่ออุปกรณ์ และคลังความรู้ที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
-เกิดเครือข่ายความรู้ ที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมซึ่งกันและกันบนอินเตอร์เน็ต ข้อมูลจะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ สะดวกและรวดเร็ว
-ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถสืบค้นวิชาความรู้ไดด้วยตนเอง โดยมีการให้คำปรึกษาและชี้แนะโดยครู/อาจารย์
-ลดช่องว่างระหว่างการศึกษาในเมืองและชนบท สร้างความเท่าเทียมกันและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กชนบทได้รู้เท่าทัน เพื่อสนับสนุนนโยบายและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อความสอดคล้องและสนับสนุน การปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
-ปัจจุบันพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ไดกำหนดการศึกษาพื้นฐานไว้ 9 ปี แต่ปัญหาที่เป็นอยู่คือ การศึกษายังไม่เข้าถึงทุกชุมชนส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรุงเทพฯ มากถึง 6 เท่าตัว และมีการไม่เท่าเทียมกันของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีประกอบกับโครงรางทางสารสนเทศพื้นฐานก็ยังขาดแคลน ไม่รู้จะเลือกเทคโนโลยีอะไรมาใช้ให้เกิดความเหมาะสมหรือลงทุนแล้วจะคุ้มค่ากับทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่หรือไม่จะเปลี่ยนวิสัยทัศน์ กระบวนการทางความคิดของผู้สอนจะจัดการรูปแบบการบริหารให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้อย่างไร
การเปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบชั้นเรียนปกติ กับ E-Learning
ชั้นเรียนปกติ e-Learning
1. ผู้เรียนนั่งฟังการบรรยายในชั้นเรียน 1. ใช้ระบบวีดีโอออนดิมาน เรียนผ่านเว็บ
2. ผู้เรียนค้นคว้าจากตำราในห้องสมุดหรือสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ 2. ค้นคว้า หาข้อมูลผ่านทางเว็บ ที่มีเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วโลก Search Engine สะดวกรวดเร็วและทันสมัย
3. เรียนรู้การโต้ตอบจากการสนทนาในชั้นเรียน 3. ใช้กระดานถาม-ตอบช่วยให้ผู้เรียนกล้าแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เต็มที่ เหมาะกับผู้เรียนจำนวนมาก
4. ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ 4. จะเรียนเวลาไหนที่ใดก็ได้
คงจะส่งได้แล้วนะยินดีด้วยนะ
ตอบลบพยามพัฒนาต่อไปนะ